วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สรุปเนื้อหา วิชาคอมพิวเตอร์



สรุปเนื้อหา วิชาคอมพิวเตอร์

1.การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

             ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล(Data Communication) คือ กระบวนการโอนถ่ายหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์

             เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเพื่อติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน  โดยทั่วไปจะประกอบด้วย ระบบคอมพิวเตอร์   ช่องทางการสื่อสารข้อมูลและอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อต่อ ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน และสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลจึงมีองค์ประกอบ 5 ประการคือ

             1.ผู้ส่งข้อมูล(Sender) คือ ส่วนที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปยังจุดหมายที่ต้องการซุ่งเป็นอุปกรณ์
ต้นทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล  อาจเ ป็นคน  คอมพิวเตอร์  โทรศัพท์ เป็นต้น
             2.ผู้รับข้อมูล (Receiver) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ถูกส่งมาให้ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ใช้ในการรับข้อมูล  อาจเป็นคน คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เป็นต้น
             3.สื่อกลาง (Medium) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูลจากผู้ส่งข้อมูลไปยังู้รับข้อมูล เช่น สายเคเบิล อากาศ เป็นต้น
             4.ข้อมูล(Data) คือ ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล ข้อมูลอาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และอื่นๆ
             5.โปรโตคอล(Protocol) คือ กฎหรือวิธีที่กำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูล ซึ่งผู้ส่งข้อมูลจะต้องส่งข้อมูลในรูปแบบวิธีการสื่อสารที่ตกลงไว้กับผู้รับข้อมูลจึงจะสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้
         
             พัฒนาการของการสื่อสารข้อมูลข่าวสาร
             1.การสื่อสารในยุคเกษตรกรรม
             2.การสื่อสารในยุคอุตสาหกรรม
             3.การสื่อสารในยุคปัจจุบัน

            รูปแบบของการส่งสัญญาณข้อมูล
            1.การสื่อสารแบบทิศทางเดียว(Simplex) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีผู้ส่งทำหน้าที่ส่งข้อมูลเพียงอย่างเดียว


            2.การสื่อสารแบบกึ่งสองทิศทาง(Half-Duplex) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้รับและผู้ส่ง  โดยแต่ละฝ่ายสามารถเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับข้อมูล


         
            3.การสื่อสารแบบสองทิศทาง(Full-Duplex) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ส่งและผู้รับโดยทั้งสองฝ่ายสามารถเป็นผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน







        สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล
        1.สื่อกลางประเภทสายสัญญาณ (Wired Media)
        2.สื่อกลางประเภทไร้สาย (Wireless Media)

       ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
       1.เครือข่ายระดับท้องถิ่นหรือเครือข่ายแลน(Local Area Network : LAN)
               หรือเครือข่ายระยะใกล้เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร
       2.เครือข่ายระดับเมือง(Metropolitan Area Network : MAN)
               เป็นการเชื่อต่อเครือข่ายระหว่างอาคารซึ่งอาจจะอยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือนอกพื้นที่ที่อาจจะอยู่กันคนละมุมเมืองก็ได้
       3.เครือ ข่ายระยะไกลหรือเครือข่ายแวน(Wide Area Network : WAN)
               เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระแบบคอมพิวเอตร์ในระยะห่างไกล

       โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
        1.โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว(Star Topology)
                เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้ากับศุฯย์กลาง การรับส่งข้อมูลทั้งหมดจะต้อง่านคอมพิวเตอร์ศุนย์กลางเสมอ
        2.โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส(Bus Topology)
                เป็นรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่านสายสัญญาณแกนหลักที่เรียกว่า
 BUS หรือแบ๊กโบน (Backcone)
        3.โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (Ring Topology)
                เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเข้าเป็นวงแหวน ข้อมูลจะถูส่งต่อๆกันไปในวงแหวน
        4.โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบสม(Hybrid Topology)
                เป็นการเชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน

         ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

         1.การใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน คือ สามารถเรียกใช้ข้อมูลจาเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้
         2.การแบ่งปันทรัพยากรในเครือข่าย นอกจากใช้ฐานข้อมูลร่วมกันได้แล้วเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด
         3.การติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนเครือข่าย เมื่อมีการเชื่อมโยงสถานีงานหรือ คอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนที่อยู่บนเครือข่ายจะสามารถใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
         4.สำนักงานอัตโนมัติ แนวคิดของสำนักงานสมัยใหม่คือการลดปริมาณการใช้กระดาษโดยารหันมาใช้ระบบการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทันที



2. หลักการและวิธีการแก้ปัญ หาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

       ลักษณะของปัญหาในชีวิตประจำวัน
                1.การลองิดลองถูก เป็นวิธีการแก้ปัญหาแบบพื้นฐานที่สุด คือ สิ่งใดผิดก็ละเว้นไม่กระทำ สิ่งใดถูกก็เก็บเป็นฐานความรู้ ไว้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการแก้ปัญหาในโอกาสต่อไป
                2.การใช้เหตุประกอบการแก้ปัญหา ในบางกรณีผู้เรียนสามารถให้เหตุผลได้ว่าทำไมจึงคิด หรือทำเช่นนั้น
                3.วิธีขจัด เป็นวิธีการแก้ปัญหาหนึ่งที่พบบ่อย นั่นคิดจะแยกข้อมูลออกเป็นกรณีที่เป็นไปไม่ได้และขจัดทิ้งไปเรื่อยๆ จนเหลือกรณีที่เป็นไปได้
                4.การใช้ตารางหาความสัมพันธ์ของข้อมูล บางปัญ หาไม่สามารถจัดให้เหลือกรณีเดียวได้
           
กระบวนการแก้ปัญหา



        1.วิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
    
           วิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา(State the problem)เป็นขั้นตอนแรกก่อนที่จะลงมือแก้ปัญหา แต่ผู้แก้ปัญหามักจะมองข้ามความสำคัญ ของขั้นตอนนี้อยู่เสมอ
       
         2.การวางแผนในการแก้ปัญหา
            เป็นขั้นตอนการวางแผนในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วน  หลังจากที่ทำวคามเข้าใจกับปัญหา พิจารณาข้อมูลและเงื่นไขที่มีอยู่ และสิ่งที่ต้องการหาในขั้นตอนที่ 1 แล้วสามารถคาดคะเนวิธีการที่จะใช้การแก้ปัญหา
         
          3.การดำเนินการแก้ปัญหา
             การดำเนินการแก้ปัญหา(Implementation) หลังจากที่ได้ออกแบบขั้นตอนวิธีเรียบร้อยแล้วขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องลงมือแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่เลือกไว้ 

          4.การตรวจสอบและปรับปรุง
             การตรวจสอบและปรับปรุง(Refinement) หลังจากที่ลงมือแก้ปัญหาแล้วต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิธีนี้ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

การเขียนโปรแกรม

           1.โครงสร้างแบบลำดับ(Sepuential structure) เป็นโครงสร้างแสดงขั้นตอนการทำงานที่เป็นไปตามลำดับก่อนหลัง แ ละแต่ละขั้นตอนจะถูกประมวลผลเพียงครั้งเดียวเท่านั้น สามารถแสดงการทำงานของโครงสร้างนี้โดยใช้ังงานได้ดังรูป



         2.โครงสร้างแบบมีทางเลือก(Selection Structure) เป็นโครงสร้างที่มีเงื่อนไข ขั้นตอนการทำงานบางขั้นตอนต้องมีการตัดสินใจเพื่อเลือกวิธีการประมวลผลขั้นต่อไป และจะมีบางขั้นตอนไม่ได้รับการประมวลผล การตัดสินใจอาจมีทางเลือก 2 ทางหรือมากกว่า


        3.โครงสร้างแบบทำซ้ำ(Repetition Structure) เป็นโครงสร้างที่ขั้นตอนการทำงานบางขั้นตอนได้รับการประมวลผลมากกว่า 1 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้น อยู่กับเงื่อนไขบางประการ โครงสร้างแบบทำซ้ำนี้ต้องมีการตัดสินใจในการทำงานซ้ำ 




        การสั่งงานใดๆ ให้คอมพิวเตอร์ทำงาน จะต้องมีโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่คอมพิวเตอณ์เข้าใจ
รูปแบบของคำสั่งที่เขียนขึ้นนั้นเป็นข้อกำหนดที่มนุษย์ได้วางไว้ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ได้รับรู้อาจมีการใช้อักษร ข้อความ หรือสัญ ลักษณ์แทนคำสั่งเพื่อให้ผู้เขียนเข้าใจง่าย แล้วคอมพิวเตอร์ก็นำไปแปลความหมายตามที่ตกลงไว้